Chalita and Associates Lawyer Office v1.4.3
083-691-4990
line@lawyerbefair
lawyerbefair@gmail.com
line@lawyerbefair
083-691-4990
โดย ทนายชลิตา หนูพลัด

การครอบครองปรปักษ์

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

         มาตรา 1382 บัญญัติว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าผู้นั้นได้กรรมสิทธิ์” 


ต้องการปรึกษาทนายความ หรือหาทนายความ คดีครอบครองปรปักษ์ คลิก

หรือติดตามทนาย ผ่าน Facebook : ทนายชลิตา แยม




หลักเกณฑ์การครอบครองปรปักษ์

1. บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น 

         บุคคล หมายถึง บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล 

         ครอบครอง หมายถึง กริยาการเข้ายึดถือทรัพย์สินเพื่อตน ไม่ใช่การยึดถือแทนผู้อื่น 

         ทรัพย์สิน หมายถึง ทรัพย์สินที่มีกรรมสิทธิ์เท่านั้น จึงจะสามารถครอบครองปรปักษ์ได้  

2. โดยความสงบและโดยเปิดเผย

         สงบ หมายความว่า ครอบครองโดยไม่ถูกกำจัดให้ออกไป หรือไม่ได้ถูกฟ้องขับไล่

         เปิดเผย หมายความว่า มีลักษณะเป็นประจักษ์แก่บุคคลทั่วไป 

3. ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ

         หมายถึง การยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนายึดถือเพื่อตน มิใช่การยึดถือแทนผู้อื่น หากครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของแล้ว แม้ผู้ครอบครองไม่รู้ว่าเป็นทรัพย์สินของผู้ใด หรือเข้าใจผิดคิดว่าทรัพย์สินที่ครอบครองเป็นของตน แต่ความจริงแล้วเป็นทรัพย์สินของผู้อื่น ผู้ครอบครองย่อมครอบครองปรปักษ์ได้ 

         หากเป็นการครอบครองทรัพย์สินโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น หรือเคารพสิทธิของผู้อื่น หรือครอบครองแทนเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยมีเจตนาเป็นเจ้าของ 

4. ระยะเวลาในได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์

         4.1 ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี

  • ไม่นับระยะเวลาห้ามโอนเข้าด้วย  

         4.2 ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี 

  • รวมถึงทรัพย์สินชนิดพิเศษ เช่น เรือที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป แพ สัตว์พาหานะ 


ผลของการครอบครองปรปักษ์ : ผู้ครอบครองปรปักษ์ได้กรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382


ข้อควรระวัง

         การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1299 วรรคสอง ถ้ายังมิได้จดทะเบียนสิทธิจะมีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนไม่ได้ และจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้กรรมสิทธิ์มาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้วไม่ได้ ดังนั้น ถ้าผู้ครอบครองปรปักษ์ยังไม่ได้ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ และศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด และจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินเพื่อเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนไม่ได้ หากผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน นำที่ดินไปขายให้บุคคลภายนอกโดยบุคคลภายนอกซื้อไปโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน บุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้ครอบครองปรปักษ์ 


บทความที่เกี่ยวข้อง