การฟ้องขับไล่ กรณีเป็นที่ดินมีสิทธิครอบครอง (กรณีแย่งสิทธิครอบครอง และรบกวนการครอบครอง)
การฟ้องขับไล่ บุคคลใดให้ออกจากที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครอง(มิใช่ที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์) คือ กรณีที่เจ้าของผู้ครอบครองที่ดินเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องขับไล่บุคคลที่ไม่มีสิทธิใดๆ ในที่ดิน เป็นจำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาท ซึ่งเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งหากจำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยเป็นสิทธิครอบครองในที่ดิน หรือมีสิทธิในที่ดินดีกว่าโจทก์ ก็จะกลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ และคดีก็จะมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน และจำเลยต้องออกจากที่ดินพิพาทหรือไม่ ซึ่งในการพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดิน ทนายความแต่ละฝ่ายจะต้องนำเสนอข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการครอบครองที่ดิน ตั้งแต่การได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง การได้รับโอนสิทธิครอบครองต่อเนื่องกันมาโดยไม่ขาดสาย อีกทั้ง ประการสำคัญคือ จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ได้เข้ายึดถือที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนจริง กล่าวคือ มีการเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินจริงโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตน ไม่ว่าจะเป็นการครอบครองด้วยตนเองหรือให้ผู้อื่นครอบครองแทน
ติดต่อทนายฟ้องขับไล่ หรือสู้คดีฟ้องขับไล่ คลิก
หรือติดตามทนาย ผ่าน Facebook : ทนายชลิตา แยม
ก่อนที่เราจะมาพูดถึงการฟ้องขับไล่บุคคลใดออกจากที่ดินที่มีสิทธิครอบครอง ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สิทธิครอบครองคืออะไร ที่ดินมีสิทธิครอบครองแตกต่างจากที่ดินมีกรรมสิทธิ์อย่างไร ซึ่งทนายได้จัดทำบทความอธิบายเรื่องสิทธิครอบครองไว้ในเว็บไซต์ ให้อ่านทำความเข้าใจในเบื้องต้นแล้ว ดังนี้
คลิก Link เพื่ออ่านเพิ่มเติม
- สิทธิครอบครอง และการได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1367 และมาตรา 1368
- ข้อแตกต่างระหว่างที่ดินมีกรรมสิทธิ์ กับ ที่ดินมีสิทธิครอบครอง
- ข้อสันนิษฐานสิทธิครอบครองกรณีผู้มีชื่อในทะเบียน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1373
- สิทธิในที่ดิน และทะเบียนที่ดิน(เอกสารสิทธิที่ดิน)
กล่าวโดยสรุป คือ ที่ดินต่อไปนี้ มีเพียงสิทธิครอบครอง
- ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)
- ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)
- ที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ข.)
- ที่ดินที่มีแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)
- ที่ดินแบบแจ้งการครอบครอง ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 27 ตรี (ส.ค.2)
- ที่ดินที่มีใบเหยียบย่ำ
- ที่ดินที่มีตราจอง
- ที่ดินที่มี ภบท.5
- ที่ดินที่มีใบไต่สวน
- ที่ดินที่มีใบนำ
- ที่ดินมือเปล่า (ไม่มีเอกสารอะไรเลย)
ทั้งนี้ ที่ดินที่มีสิทธิครอบครองและมีทะเบียนที่ดิน ที่จะได้รับข้อสันนิษฐานทางกฎหมายว่า ผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1373 ได้แก่ ที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) , (น.ส.3 ก.) , (น.ส.3 ข.) เท่านั้น ส่วนที่ดินที่มีเอกสารอื่นๆ ไม่ถือว่าเป็นทะเบียนที่ดิน
การฟ้องขับไล่ ให้ออกจากที่ดินที่มีสิทธิครอบครอง
มี 2 กรณี ได้แก่
- กรณีที่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ฟ้องเรียกเอาคืนซึ่งการครอบครองจากผู้ที่แย่งการครอบครองที่ดิน และมีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาขับไล่จำเลย(ผู้ที่มาแย่งการครอบครอง) และบริวารให้ออกจากที่ดิน พร้อมทั้งให้ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375
- กรณีที่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ฟ้องผู้ที่สอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นคดีขอปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครอง โดยขอให้ศาลพิพากษาห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดิน และขอให้ขับไล่(ผู้ที่สอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดิน) และบริวาร ให้ออกจากที่ดิน พร้อมทั้งให้ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1374
อายุความในการฟ้องขับไล่ กรณีมีผู้แย่งสิทธิครอบครอง หรือรบกวนการครองครอง
- กรณีถูกแย่งการครอบครอง เจ้าของที่ดินต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองและขับไล่ ภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง
- กรณีถูกรบกวนการครอบครอง เจ้าของที่ดินต้องฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครอง ภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวน
อ่านเพิ่มเติม